Additionally, paste this code immediately after the opening
tag:
คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน
วันที่: 01-04-2012
ฉนวนกันความร้อน
โพลียูรีเทนโฟม P.U.Foam
1. รูปแบบทางกายภาพ ฉนวนกันความร้อน P.U.Foam ขึ้นรูปตามวัสดุหรือชิ้นงานที่พ่น เช่น พ่นติดกับวัสดุที่เป็นกระเบื้อง ก็จะขึ้นลอดตามรูปกระเบื้อง ถ้าอัดแบบตามรูปทรงที่กำหนด ก็จะได้ตามความต้องการรูปแบบทางกายภาพของฉนวนกันความร้อนมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานได้ตามต้องการ เช่น ฉนวนแบบคลุมห่ม แบบแผ่น แบบพ่น แบบฉีด ฯลฯ การเลือกใช้ฉนวนจะต้องคำนึงถึงลักษณะใช้งาน และตำแหน่งที่ติดตั้ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ความแข็งแรง คงทน ร่วมด้วย ตัวอย่างการเลือกใช้งานฉนวนที่มีรูปแบบทางด้านกายภาพแตกต่างกัน เช่น ใช้ฉนวนโฟมชนิดพ่นสำหรับด้านบนหลังคา ผนังภายนอก หรือพ่นภายในอาคาร
2. ความแข็งแรงทน และความหนาแน่น ฉนวนกันความร้อน P.U.Foam ไม่ยุบตัวเมื่อมีแรงกดทับ มีความหนาแน่น 35 - 40 กก/ลบ.ม. เป็นโฟมแข็งเรียกว่า ริจิคโฟม ไม่อุ้มน้ำเมื่อโดนฝน หรือหลังคารั่ว ไม่เสื่อมสลายในสารละลายทุกชนิด มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเท่ากับอายุของหลังคา ความสามารถของฉนวนในการทนทานต่อแรงด่างๆ หลายรูปแบบ ดังนี้
P.U.Foam สามารถรับน้ำหนัก และแรงอันได้
P.U.Foam มีความต้านทานต่อแรงดึงและแรงเฉือน
P.U.Foam ทนต่อแรงกระแทก และแรงสั่นสะเทือน
P.U.Foam ทนต่อการบิดงอ
ซึ่งความสามารถดังกล่าวของฉนวนจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบความหนาแน่น ขนาดของเซลล์ ขนาดและการจัดเรียงตัวของเส้นใยชนิดของฉนวด และปริมาณของตัวประสาน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแและสภาพแวดล้อมในการใช้งาน
3. การกั้นไฟ และไม่ลามไฟ มีส่วนผสมของสารไม่ลามไฟ Fire retardant ไม่เป็นเชื้อไฟเมื่อโดนไฟเผา จะไหม้เฉพาะส่วนเท่านั้น เมื่อมีไฟฟ้าลัดวงจรอันตรายจากไฟไหม้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการใช้ฉนวนภายในอาคาร เพราะฉนวนที่กันความร้อนได้ดี อาจมีคุณสมบัติการกันไฟไม่ดี สำหรับบางส่วนของอาคาร เช่น ห้องครัว หรือห้องที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความร้อน การกันไฟไหม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาว่าการเผาไหม้ของฉนวนก่อให้เกิดสารพิษมากน้อยขนาดไหน ฉนวนที่กันไฟได้ดี ได้แก่ โฟมพียูผสมสารไม่ลามไฟ fireratard ใยแก้ว fribre glass ใยหิน rock wool ใยแร่ mineral แคลเซียมซิลิเกต calciu silicate และเวอร์มิคูไลท์ vermiculite เป็นต้น
4. ป้องกันการรั่วซึม P.U.Foam สามารถอุดรอยรั่วของหลังคาที่แตก หรือผนังคอนกรีตที่แตกร้าวได้เพราะโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด น้ำจะซึมผ่านไม่ได้ และไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรค เชื้อราได้
5. ติดตั้งง่าย
6. การลงทุนที่คุ้มค่ากว่า