วันที่: 19-08-2013
โดยปกติแล้วพื้นที่โดยทั่วไปภายในอาคารนั้นจะมีการเทพื้นและปรับพื้นที่ไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถ้าพื้นที่บริเวณที่จะทำการติดตั้งพื้นยกนั้นมีความเรียบสม่ำเสมอกันดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีการปรับพื้นผิวแต่อย่างใด แต่ถ้าพื้นที่บริเวณนั้นมีความเรียบหรือไม่สม่ำเสมอกันหรือว่าเป็นพื้นที่ลาดชันแล้ว จะต้องมีการเทพื้นทับหน้าเพื่อให้พื้นผิวนั้นมีความเรียบเสมอกันก่อน เพราะโครงสร้างของพื้นยกนั้นจะไม่สามารถวางบนพื้นที่มีความลาดเอียงได้
การเททับหน้าเชื่อมประสานแบบสมบูรณ์ : ในการเทแบบนี้จะต้องมีการเตรียมพื้นผิวโดยจะกระเทาะพื้นผิวเดิมนั้นให้เป็นรอยขรุขระก่อน แล้วก็ทำความสะอาดเพื่อเอาเศษวัสดุต่างๆออกไป จากนั้นก็จะต้้องทาด้วยวัสดุเชื่อประสาน แล้วจากนั้นก็จะเทคอนกรีตทับหน้าลงไป และโดยปกติแล้วการเทแบบนี้จะเทให้มีความหนาน้อยกว่า 5 เซนติเมตร แต่ก็ยังสามารถเทให้มีความหนาที่มากกว่านี้ได้ แต่ตัวเชื่อมประสานนั้นจะทำงานได้ดีกว่าถ้าเททับหน้าเป็นชั้นบางๆ
การเททับหน้าโดยการเชื่อมประสานเฉพาะเพียงบางส่วน : โดยลักษณะแล้วพื้นเดิมสำหรับการเททับหน้าแบบนี้จะต้องมีความแข็งแรงและหนามากพอที่จะรองรับน้ำหนักของพื้นเททับหน้าใหม่ได้ เพราะการเททับหน้าใหม่อีกชั้นหนึ่งนั้นจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งพื้นเดิมนั้นนอกจากจะต้องแข็งแรงแล้วก็ยังต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และไม่มีรอยแตกร้าวแต่อย่างใด ซึ่งการเททับหน้าในลักษณะนี้จะเหมาะแก่การรับภาระหนักอย่างเช่นใช้กับโรงงานอุตสาหรกรรมเป็นต้น
การเททับหน้าโดยไม่มีการเชื่อมประสานใด ๆ : การเทแบบนี้มักจะใช้ในกรณีที่พื้นเดิมนั้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์เช่นมีรอยแตกร้าวหรือมีผิวที่ไม่เรียบ หรือพื้นผิวนั้นมีรอยเปื้อนจากคราบต่าง ๆ มากมายซึ่งไม่สะดวกต่อการปรับปรุง ดังนั้นจึงต้องมีการปูวัสดุเพื่อเป็นชั้นรองให้สามารถที่จะทำการเททับหน้าได้ และเมื่่อได้ทำการปูวัสดุรองแล้วก็จะทำการเททับหน้าด้วยคอนกรีตลงไป ซึ่งก็แน่นอนว่าผิวของชั้นที่เป็นพื้นเดิมกับชั้นที่เททับลงไปนั้นจะไม่มีการประสานเชื่อมกัน เนื่องจากการเททับหน้าแบบนี้นั้นโครงสร้างอาจจะไม่ค่อยแข็งแรงนักจึงควรมีการวางโครงตะแกรงเหล็กไว้บนชั้นพื้นเดิมก่อนการเททับหน้าก็จะช่วยเสริมความแข็งแรงได้มาก
ในการเททับหน้าแบบเชื่อมประสานนั้นจะต้องใช้วัสดุประสานในการเชื่อมกันระหว่างชั้นพื้นเดิมกับพื้นที่จะทับหน้าลงไป ซึ่งวัสดุที่จะใช้ในการเชื่อมก็สามารถที่จะใช้ปูนและทรายโดยผสมกันให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ อย่างเช่นใช้ปูนปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่งในอัตรา 1 ส่วน ใช้ทราย 1 ส่วน และน้ำอีกครึ่งส่วนโดยการวัดจากน้ำหนัก ผสมให้เข้ากันโดยให้มีลักษณะเป็นครีมข้น จากนั้นก็เทลงไปบนพื้นเดิมแล้วเกลี่ยให้บางๆ ก่อนที่จะเททับหน้าลงไป
ปูนหรือคอนกรีตที่ใช้ในการเททับหน้านั้นจะต้้องพิจารณาถึงอัตราส่วนระหว่างน้ำกับวัสดุเชื่อมประสาน ที่น้อย เพื่อที่จะทำให้ปูนหรือคอนกรีตนั้นมีกำลังในการอัดที่สูง สามารถที่จะรองรับการเสียดสีได้เป็นอย่างดี ซึ่งก้มักที่จะนิยมใช้หินที่มีขนาดโตสุด 1 นิ้ว ลงมากระทั่ง 3/8 นิ้ว ซึ่งนั่นก็จะต้องพิจารณาถึงความหนาที่ต้องการเททับหน้าด้วย และเมื่อคอนกรีตนั้นแห้งลงและแข็งตัวก็จะมีการหดตัว ถ้ามีการหดตัวเกิดขึ้นมากก็จะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาถึงอัตราส่วนของน้ำกับวัสดุเชื่อมประสานอยู่ที่ 0.40 ถึง 0.45 และปูนซีเมนต์อย่างน้อยก็จะอยู่ที่ 360 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
เมื่อคอนกรีตที่เททับหน้าลงไปนั้นแข็งตัวแล้วก็จะมีการขยายตัวหรือหดตัวเกิดขึ้นด้วยผลจากการที่เกิดการขยายตัวหรือหดตัวนี้จะส่งผลให้เนื้อปูนหรือคอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้ วิธีแก้ไขนั้นก็คือเซาะร่องของเนื้อปูนที่เททับหน้าลงไปนั้นให้มีช่องว่างเป็นทางยาวไปจนสุดและเจาะจนทะลุตลอดของเนื้อปูนที่เททับหน้า เพื่อให้ปูนที่เททับลงไปนั้นสามารถที่จะขยายหรือหดตัวได้อย่างอิสระ ซึ่งก็จะไม่ทำให้เกิดการแตกร้าวในเนื้อปูนอีกต่อไป และในการเซาะร่องนี้ก็จะต้องทำทันทีหลังจากที่เนื้อคอนกรีตนั้นแข็งตัว
ในการเสริมเหล็กให้กับพื้นเททับหน้านั้นจะทำให้กับลักษณะงานในสองรูปแบบด้วยกัน
|
|
|